Menu Close

The Money Formula สมการแสนล้าน พลิกกระดานวอลสตรีท

(2 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

Original price was: ฿375.00.Current price is: ฿325.00.

จากต้นฉบับ The Money Formula : Dodgy Finance, Pseudo Science,

and How Mathematicians Took over the Markets

เขียนโดยพอล วิลมอทท์ และเดวิด ออร์เรล จะพาคุณไปเปิดโลกของการเงินเชิงปริมาณ ( หรือ Quant)

โลกที่ทำเงินจากวอลสตรีทได้มากที่สุด แต่กลับเป็นที่รู้จักของคนภายนอกน้อยที่สุด

ศึกษาประวัติศาสตร์ควอนท์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และส่องอนาคตแวดวงการเงิน

 

หนังสือที่จะพาคุณไปรู้จักโลกของการเงินเชิงปริมาณ (Quant)

ณิตศาสตร์จะครองโลกการเงินอย่างไร

 

 

มีสินค้าอยู่ 24

รหัสสินค้า: M002 หมวดหมู่: ป้ายกำกับ: , , , , , ,
คณิตศาสตร์จะครอง Wall Street ได้อย่างไร? หนังสือที่จะพาคุณไปรู้จักโลกของ Quant หรือการเงินเชิงปริมาณ  
เปิดเผยเบื้องหลังการถล่มของตลาดหุ้นยุคใหม่ เช่นปี 2008 เต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ ที่ถูกสร้างจากสมการของชาว Quant  และมีเพิ่มขึ้นทุกวัน


เขียนโดย พอล วิลมอทท์ เจ้าสำนัก CQF  ควอนท์ที่เก่งที่สุดในโลก (อ้างอิง นัสซิม ทาเลบ) และเดวิด ออร์เรล 

แปลจากต้นฉบับ The Money Formula : Dodgy Finance, Pseudo Science, and How Mathematicians Took over the Markets 
เจาะเบื้องหลังการเทรดความถี่สูง อย่าง HFT, Dark Pools, กล่องดำ (Blackbox) 
ของเหล่าชาวควอนท์ เทรดเดอร์ผู้ที่มีไอคิวอันดับต้นๆ ในโลกการเงินศตวรรษที่ 21
ตัวอย่างทดลองอ่าน สแกน QR code หรือ กดลิ้งก์

ISBN 978-616-94400-1-7

หนังสือมีความหนาประมาณ 344 หน้า

น้ำหนัก 420 กรัม
ขนาด 21 × 14.5 × 1.8 เซนติเมตร
ขนาด

14.5 cm x 21 cm x 1.6 cm

The Money Formula สมการแสนล้าน พลิกกระดานวอลสตรีท จาก 2 รีวิว

  1. mpirika_admin

    ทำไมคุณควรอ่าน Money Formula : สมการแสนล้าน พลิกกระดานวอลสตรีท

    มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้คณิตศาสตร์ในการเงิน
    หากคุณสนใจในเรื่องการที่ระบบการเงินโลกถูกครอบงำด้วยคณิตศาสตร์และอัลกอริธึม The Money Formula
    ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และกลไกของการเงินเชิงปริมาณ “ผมอยากให้ลุงที่บอก HFT เอาเปรียบรายย่อยอ่านจัง”

    เล่าเรื่องอย่างสนุกและเข้าใจง่าย
    ผมชอบการเล่าเรื่องของ Willmott ที่เล่าเรื่อง Quant ให้เข้าใจง่ายไม่ต้องมีสมการอะไรทั้งนั้น (ถ้าสังเกตโพสต์พวกผมมีสมการเต็มไปหมด ไม่เชื่อเลื่อนลงไปสักสองโพสต์สิ) ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงหัวข้อที่ซับซ้อน เช่น การสร้างโมเดลทางการเงิน การซื้อขายด้วยอัลกอริธึม/HFT และการบริหารความเสี่ยง แต่เนื้อหาในหนังสือถูกเล่าในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสนุก ทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานทางการเงินหรือคณิตศาสตร์ก็สามารถเข้าใจได้ไม่มีตัวอักษรกรีกมากมายให้เข้าใจยาก
    ท้าทาย ‘ความเป็นวิทยาศาสตร์’ ของการสร้างโมเดลทางการเงิน

    Quant ชอบคิดว่าตัวเองเป็นวิทยาศาตร์ อย่างที่ ดร.ท่านหนึ่งบอกในกลุ่มไลน์ โมเดลนำเสนอว่าตนเองเป็น “วิทยาศาสตร์”
    แต่จริง ๆ แล้วอาจตั้งอยู่บนสมมติฐานที่อ่อนแอ ความผันผวนของตลาดและพฤติกรรมมนุษย์เป็นสิ่งที่ยากจะคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ
    (แต่ยังไง Quant ก็มีความเป็นวิทยาศาสตร์กว่า พื้นฐานหรือเทคนิคอยู่ดี)

    สัญญาณเตือนสำหรับอนาคตของการเงิน
    นอกจากจะอธิบายความผิดพลาดในอดีต หนังสือเล่มนี้ยังสะท้อนถึงอนาคตของตลาดการเงิน ผู้เขียนเรียกร้องให้มีการใช้งานโมเดลทางคณิตศาสตร์อย่างรอบคอบและมีความรับผิดชอบมากขึ้น พร้อมเน้นถึงความสำคัญของความถ่อมตัวและการเข้าใจความซับซ้อนของโลกความเป็นจริงที่โมเดลเหล่านี้อาจมองข้ามไป
    ถ้าคุณเป็นนักศึกษาที่สนใจด้าน Quant หนังสือเล่มนี้จะกลายเป็น “เข็มทิศชีวิต” ที่ดีสำหรับคุณ
    หากคุณเชื่อในกฎ 1 องศา ที่การปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยสามารถเปลี่ยนเส้นทางชีวิตได้
    หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการศึกษา Quant ได้อย่างมาก ด้วยความรู้ที่ถูกสรุปไว้อย่างชัดเจนและลึกซึ้ง
    คุณจะได้รับพื้นฐานที่สำคัญโดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก

    ถ้าคุณเป็นเทรดเดอร์
    หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอ กลยุทธ์การลงทุน ที่พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล โดยเฉพาะในเรื่อง Volatility Arbitrage
    ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่ Wilmott เชี่ยวชาญ คุณจะได้เห็นกลไกที่แท้จริงของการใช้ Vol Arbitrage ในการทำเงิน
    และเข้าใจว่าความเสี่ยงและโอกาสที่แท้จริงนั้นอยู่ตรงไหน

    ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่เชื่อเรื่อง Quant หรือสงสัยในความแม่นยำของคณิตศาสตร์ในตลาดการเงิน
    นี่แหละคือ คัมภีร์ สำหรับคุณ ผู้เขียนไม่เพียงแค่กล่าวถึงข้อดีของ Quant
    แต่ยังวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสียและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการพึ่งพาโมเดลคณิตศาสตร์เกินไป
    การอ่านหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจทั้งสองด้านของเหรียญ และมีมุมมองที่สมดุลมากขึ้นเกี่ยวกับ Quant

    ถ้าคุณไม่ชอบ การซื้อขายความถี่สูง (HFT) แต่ไม่เข้าใจกระบวนการทำงานของมันอย่างแท้จริง
    นอกจากจะได้ยินคำว่า “ความไวแสง” หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจโครงสร้างและกลไกเบื้องหลัง HFT ได้ชัดเจนขึ้น
    คุณจะได้รู้ว่า HFT ไม่ใช่แค่เรื่องของความเร็วในการซื้อขาย แต่ยังเกี่ยวกับวิธีการที่โมเดลคณิตศาสตร์และข้อมูลถูกนำมาใช้ในการคาดการณ์และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
    ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่สนใจการจัดการความเสี่ยง หนังสือเล่มนี้จะเปิดเผยให้เห็นว่าคณิตศาสตร์และโมเดลการเงินช่วยในการประเมินความเสี่ยงได้อย่างไร
    โดยไม่หลงเชื่อในสูตรสำเร็จ คุณจะได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้โมเดลเหล่านี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงและพัฒนาพอร์ตการลงทุนของคุณได้ดีขึ้น

    ถ้าคุณสนใจเรื่องการเมืองของการเงิน
    หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเห็นว่าการเงินเชิงปริมาณไม่ได้มีแค่ตัวเลข แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและการเมืองในระดับโลก
    คุณจะเข้าใจถึงผลกระทบเชิงนโยบายที่เกิดจากการพึ่งพาโมเดลคณิตศาสตร์ในตลาดการเงินที่มักซับซ้อนและแฝงด้วยความเสี่ยง
    ถ้าคุณเป็นคนที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจจากคนในวงการ หนังสือเล่มนี้จะเปิดโลกของนักคณิตศาสตร์และนักการเงินที่ประสบความสำเร็จ
    คุณจะได้เห็นว่าคนเหล่านี้คิดอย่างไร และใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเงินระดับโลกอย่างไร
    สุดท้าย ถ้าคุณ เป็น Quant มีประโยคมากมายในหนังสือเล่มนี้ที่คุณยืมคำพูด Wilmot ที่พูดแทนคุณ

    = QuantCorner Team =

  2. mpirika_admin

    “No man ever steps in the same river twice, for it’s not the same river and he’s not the same man.”
    .
    – Heraclitus
    .
    .
    รีวิวหนังสือ The Money Formula : Dodgy Finance, Pseudo Science, and How Mathematicians Took Over the Markets
    .
    หรือชื่อไทย “สมการแสนล้านพลิกกระดานวอลสตรีท”
    .
    จัดทำโดย สนพ.Mpirika Books
    .
    ผู้เขียน Paul Wilmott และ David Orrell
    ผู้แปล ณัฐดนัย หวังพระธรรม และ ภัทร อภิวัฒนกุล
    .
    .
    ความเห็นส่วนตัว หากจะให้คำนิยมแก่หนังสือเล่มนี้ก็ขอใช้ประโยคอ้างอิงจาก Heraclitus นี่แหละครับ และคิดว่า David Orrell กับ Paul Willmott ก็น่าจะเห็นดีเห็นงามด้วยเป็นแน่แท้
    .
    ไม่เช่นนั้นก็คงจะเป็นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สัก 1-2 ชิ้น แต่ทว่านั่นก็เป็นเพียงส่วนประกอบของกลวิธีทาง quant เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้น (สำหรับพวกเขารวมถึงกลุ่มคนที่เข้าใจ)
    .
    .
    เราเข้าสู่ยุค Anthropocene มาสักพักใหญ่ๆ แล้วใช่ไหม? ลองให้หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวเสมือนวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมโลกการเงินเชิงปริมาณดูครับ
    .
    เนื้อหาเล็กๆ ส่วนหนึ่งเล่าเรื่องราวก่อนปี 2008 Paul หนึ่งในผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เคยเข้าร่วมการประชุมของอุตสาหกรรมการเงินหลายงาน เหตุการณ์เหล่านี้เผยให้เห็นว่า Paul ดูราวกับ “แพทย์” ที่เข้าไปในฐานะผู้รับชมเหล่าผู้ป่วยแสดงอาการของตนเองออกมา เขาเคยแสดงความเห็นในหนังสือหลายเล่มว่า เศรษฐศาสตร์ควรใช้แนวทางที่คล้ายคลึงกับชีววิทยา และภาคการเงินที่ควบคุมไม่ได้ของเราต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นอย่างมาก
    .
    … เนื้อหาเล่มนี้ทั้งหมดถูกเขียนด้วยการวินิจฉัยแล้ว โดยสถานะ “แพทย์” ของเขาในโลกแห่ง Quantitative Finance ด้วยภาษาเข้าใจง่าย เล่นอารมณ์ แต่แฝงปรัชญาและวิทยาศาสตร์ซ่อนอยู่
    .
    ในส่วนที่เข้าใจได้ยากคงเป็นคำที่ใช้ระบุสถานะต่างๆ และกิจกรรมเฉพาะทางการเงินที่ใช้เทรดผลิตภัณฑ์การเงิน และการอธิบายพร้อมภาพประกอบที่เรียกได้ว่า “สมแล้วที่คนเขียนเป็น ‘Quant’” … แต่ส่วนตัวมองว่า ถ้ารู้เรื่องประวัติศาสตร์การเงิน/การเทรดโภคภัณฑ์มาบ้างโดยเฉพาะทางฝั่งอเมริกาหรือยุโรปที่คึกคักก็อ่านเข้าใจได้แม้ไม่เคยมีประสบการณ์ตรง (หากใช้มุมมองจากในไทยจะไม่คุ้นชิน) … เพราะโลกการเงิน ”ของจริง“ เกิดขึ้นที่นั่นและมันคึกคัก เลยมีอะไรซับซ้อนเต็มไปหมดครับ ส่วนตัวมองว่าผู้เขียนเป็นหนึ่งในคนที่เข้าใจแก่นของการใช้เครื่องมือเชิงปริมาณกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ไม่ได้เป็นแค่คนทำงานในสายงานนี้
    .
    .
    การที่จะบอกว่าผลลัพธ์อะไรที่ดูเหมือนจะฉลาดหรือว่าโง่เง่าสิ้นดี อยู่ที่มนุษย์ผู้กำลังใช้สิ่งนั้น ไม่ใช่การทำงานของสิ่งนั้น
    .
    แม้ว่าผลพวงจากผลลัพธ์ของสิ่งนั้นจะเลวร้ายเพียงใดก็ตาม
    .
    .
    ปล.สำหรับนักลงทุน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แม้จะไม่ได้ใช้งานหรือกำลังจะใช้งานผลิตภัณฑ์การเงินบางประเภท เพราะจะได้รู้และเข้าใจระบบของธรรมชาติตลาด … ที่บอกเล่ามาจากส่วนประกอบอันมาจากข้อมูลเชิงปริมาณที่มากขึ้นไปตามกรอบระยะเวลา หรือ ตัวมันเองนั่นแหละครับ
    .
    .
    .
    “เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1987 หรือที่รู้จักกันในชื่อวันจันทร์ทมิฬ ก็มีแมคกัฟฟิน[๑]เช่นกัน แต่คราวนี้วัตถุเรืองแสงในกระเป๋าเอกสารคือแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ด้วยสูตรลับของพวกเขาในการกำจัดความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอ บริษัท LOR พบวิธีสร้างฟองสบู่โดยใช้ความเสี่ยงนั้นเองเป็นวัตถุดิบ (ดูกล่อง[ข้อความ] 10.1) และนั่นคือฟองสบู่ที่แตกในปี 1987
    .
    […] จริงๆ แล้ว การซื้อขายอัตโนมัติด้วยอัลกอริทึมอาจเป็นแมคกัฟฟินที่แท้จริง เพราะต่อให้มีคนสักคนเปิดกระเป๋า เขาก็จะไม่รู้อยู่ดีว่าสิ่งที่อยู่ข้างในคืออะไร“
    .
    – The Money Formula (Paul Wilmott และ David Orrell)
    .
    .
    [๑] เรื่องราวส่วนนี้แนะนำให้หาคำตอบในหนังสือด้วยตัวเองครับ (เดี๋ยวจะสปอยล์เกินไป)
    .
    . . . ปรากฏการณ์บางอย่างจะทำงานได้ล้วนต้องการ “แมคกัฟฟิน” อันเป็นผลผลิตส่วนหนึ่งของยุค Anthropocene
    .
    .
    .
    {SS.}

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *