Menu Close

Chaos Kings กลยุทธ์เทรด เดิมพัน วันโลกป่วน **คุณจะเข้าใจ นัสซิม ทาเลบ ในเล่มเดียว**

(1 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

฿400.00

Chaos Kings กลยุทธ์เทรด เดิมพัน วันโลกป่วน

** สินค้าที่ สำนักพิมพ์ หมดค่ะ  สามารถซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปค่ะ**

จากต้นฉบับ Chaos Kings: How Wall Street Traders Make Billions in The New Age of Crisis

หนังสือที่อธิบายวิธีการเทรดของนัสซิม ทาเลบ และคู่หูของเขา  มาร์ก สปิตซ์เนเกิล ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์

Universa Investments  กับเรื่องราวโกลาหลในตลาดหุ้นได้อ่านเข้าใจง่ายที่สุด

กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่สามารถทำกำไรในภาวะวิกฤต ยามที่ตลาดผันผวน มุมมองที่มีต่อโลกที่โกลาหล โรคระบาด

ภาวะโลกร้อน  สะท้อนผ่านกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ใช้ ผลตอบแทนของเงินทุน

(net return on capital) ระดับ 4,144%  ในช่วงวิกฤต Covid-19 ที่ผ่านมา

 

สินค้าหมดแล้ว

รหัสสินค้า: M001 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ: , , , , ,

Chaos Kings กลยุทธ์เทรด เดิมพัน วันโลกป่วน

** สินค้าที่ สำนักพิมพ์ หมดค่ะ  สามารถซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปค่ะ**

จากต้นฉบับ Chaos Kings: How Wall Street Traders Make Billions in The New Age of Crisis

หนังสือที่อธิบายกลยุทธ์การเทรดของ นัสซิม ทาเลบ  และเรื่องราวโกลาหลในตลาดหุ้นได้อ่านเข้าใจง่ายที่สุด

กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่สามารถทำกำไรในภาวะวิกฤต ยามที่ตลาดผันผวน มุมมองที่มีต่อโลกที่โกลาหล โรคระบาด ภาวะโลกร้อน

สะท้อนผ่านกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ใช้ ผลตอบแทนของเงินทุน (net return on capital)

ระดับ 4,144%  ในช่วงวิกฤต Covid-19 ที่ผ่านมา  บอกเล่ารายละเอียดวิธีคิดกลยุทธ์การเทรดของ

นัสซิม นิโคลัส ทาเลบ  ผู้เขียนหนังสือติดอันดับขายดี Fooled by Randomness, The Black Swan,

Antifragile, Skin in the Game และคู่หูของเขา  มาร์ก สปิตซ์เนเกิล ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์

Universa Investments  และผู้เขียนหนังสือ The Dao of Capital, Safe Haven

พวกเขาใช้กลยุทธ์การเทรด ที่นัสซิม ทาเลบพัฒนาขึ้นมาตลอดหลายสิบปีทำกำไรในภาวะวิกฤต

 

เนื้อหาจากการสัมภาษณ์กับนัสซิม นิโคลัส ทาเลบ และผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์คนอื่นๆ โดยตรง

ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการเรียบเรียงของผู้สื่อข่าวแห่ง The Wall  Street Journal สายกองทุนเฮดจ์ฟันด์

Scott Patterson จะพาเราไปล้วงลึกข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน ด้วยภาษาที่เรียบเรียงใหม่ ให้อ่านง่าย

นักลงทุน สายเทรด สายควอนท์ ต้องไม่พลาด

ISBN 978-616-94400-0-0

หนังสือมีความหนาประมาณ 408 หน้า

น้ำหนัก 0.5 กก.
ขนาด 21 × 14.5 × 2 เซนติเมตร

Chaos Kings กลยุทธ์เทรด เดิมพัน วันโลกป่วน **คุณจะเข้าใจ นัสซิม ทาเลบ ในเล่มเดียว** จาก 1 รีวิว

  1. SS

    “ในบรรดาสิ่งที่เขียนไว้ทั้งมวล ข้าเสน่หาเพียงสิ่งที่นรชนขีดเขียนด้วยเลือดของเขาเองเท่านั้น
    .
    ลิขนะโดยโลหิต และเจ้าจะพบว่าเลือดคือจิตวิญญาณ
    .
    …ผู้ใดก็ตามเมื่อเขียนด้วยเลือดและภาษิตย่อมไม่ปรารถนาให้ถูกอ่าน แต่ให้ถูกเรียนรู้ได้โดยจิตใจ“
    .
    – Friedrich Nietzsche, Thus Spoke Zarathustra (ch.vii: Reading and Writing)
    .
    .
    รีวิวหนังสือ[ฉบับแปลไทย] Chaos Kings : how wall street traders make billions in the new age of crisis
    .
    หรือ Chaos Kings กลยุทธ์เทรด เดิมพัน วันโลกป่วน
    .
    Scott Patterson ผู้เขียน
    พรชนก พวงสุข ผู้แปล
    .
    Scott ใช้สำนวนการเขียนเล่มนี้ในลักษณะบอกเล่าเรื่องราวที่เหมือน “เพื่อน” หรือการนั่งร่วมโต๊ะกับบรรดามิตรสหายแบบกินไปเม้าท์ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยความที่เขาเดินเรื่องแบบตรงประเด็น กระชับ รวดเร็ว จึงกลายเป็นบทสนทนาบนโต๊ะเล็กๆ ของเพื่อนสนิทต่างอาชีพ ที่หยิบยกเรื่องราวที่พบเจอในอาชีพของตนเองมาบอกเล่าให้เพื่อนๆ ฟังแบบสนุก ตามทันและเข้าใจได้ครับ
    .
    โดยเนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน (ซึ่งจะขอรีวิวเป็น 3 ตอนด้วยเช่นกัน) ทั้งสามส่วนมีเรื่องราวเชื่อมโยงกันทั้งหมด (จะว่าไปก็เหมือนดูหนัง”วิกฤตการเงิน/ตลาดหุ้น“ดีๆ เรื่องหนึ่งเลย) ถ้าใครเคยนัดเพื่อนคนหนึ่งให้มานั่งเล่า“เรื่อง/ประเด็นสำคัญในชีวิต”ให้ในกลุ่มฟัง…การเกริ่นนำ แนะนำตัวละครของเรื่อง เล่าให้เพื่อนที่ไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องในตลาดหุ้น ธุรกิจการเงิน ค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นอย่างแนบเนียน ตลอดจนเชื่อมโยงเรื่องราวจนไปสู่จุดพีค
    .
    Chaos Kings เป็นแบบนั้นครับ
    .
    .
    …เมื่อผมกับเพื่อนอีกสองคนได้นัด Scott มานั่งดื่ม (แน่นอนว่านี่คือเรื่องแต่ง) ที่ร้านกาแฟ ชวนมาพูดคุยเรื่องราวชีวิตและการงานกันเสียหน่อย…
    .
    แดดเจิดจ้า ณ ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ผมกับเพื่อนมานั่งกันก่อนแล้ว พวกเราทั้งสามคนสั่งกาแฟเย็นเหมือนกัน ไม่นาน Scott ก็เปิดประตูร้านเข้ามาในลุคสูทลำลองสีเข้มสวมทับเสื้อเชิ้ตสีฟ้า กางเกงสแล็คน้ำตาล รองเท้าสนีกเกอร์ (อันที่จริงผมแอบคาดหวังให้เขาผูกเนคไทมาด้วย) เรารอกันสักพัก เขาก็เดินมาพร้อมถือ “ดับเบิ้ลเอสเพรสโซ่ 2 แก้วช็อต“ ในมือ (เอ่อ หากผมเข้าใจไม่ผิด นั่นเท่ากับกาแฟปกติ 2 แก้ว หรือมากกว่า) เขาถอดสูทลำลอง นั่งลงพร้อมส่งรอยยิ้มทักทายพวกเราทั้งสามคน ผมจึงเริ่มกล่าวเปิดการสนทนาว่าด้วยเรื่องการงานช่วงนี้ของ Scott มีอะไรน่าสนใจหรือไม่ (ลืมบอกว่าเขาเป็นคนดังในฐานะผู้รอบรู้ รู้ลึก รู้จริง มีสายตาแหลมคมของเหยี่ยวแห่งวงการตลาดหุ้น)
    .
    สิ่งแรกที่เขาทำก็สร้างความประหลาดใจให้พวกเราได้ทันที ด้วยการยกกาแฟช็อตซดทีเดียวหมด ตามด้วยช็อตที่สองเข้าไปติดๆ ด้วยสีหน้าปกติ พวกเราได้แต่มองตาค้าง จากนั้นเขาก็โบกมือทำสัญญาณกับบาริสต้า คล้ายกับบอกว่า “เอาแบบนี้มาอีก 2 แก้ว“
    .
    …เขาขยับท่านั่งตัวเองเพื่อเตรียมเล่าเรื่อง แววตาของเขาเปลี่ยนเป็นจริงจัง ผสมด้วยความกังวลขึ้นมาทันที . . .
    .
    .
    – เหล่านักเดิมพันกับความโกลากล –
    .
    Scott ได้แนะนำตัวละครพร้อมเล่าเหตุการณ์สำคัญๆ ของแต่ละคน ความน่าสนใจอยู่ที่บางเรื่องก็ไกลเกินกว่าที่คนนอกวงการจะรู้ แต่…บางเรื่องกลับใกล้ตัวเสียเหลือเกิน บางสิ่งที่เหมือนจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราก็คือ ในเรื่องที่ใกล้ตัว Scott ได้ชี้ไปยังมุมมืดที่เราไม่เคยสนใจมันด้วยซ้ำ หลายอย่างในเงามืดนั้นได้เผยให้เราได้รู้จักจากเหตุการณ์ในเรื่องเล่าของ Scott …เหตุการณ์เหล่านั้นชวนให้ผมนึกถึงประโยคหนึ่งในหนังสือ The White Album ของ Joan Didion โดยเธอเขียนไว้ว่า :
    .
    “เราบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองเพื่อที่จะดำรงอยู่ … เรามีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกำหนดเส้นการเดินเรื่องเล่าจากภาพที่มองเห็นแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าเราเป็นนักเขียน[๑]“
    .
    บางสิ่งที่ Scott บอกเล่าให้พวกเราได้รับรู้ปัญหาหนึ่งที่เขาได้มันมาจากในแวดวงการงานอาชีพของเขานั่นคือ “ความเปราะบาง (Fragile)” …ประโยคข้างต้นจาก Didion บรรยายคุณสมบัติ หรือต้นกำเนิดของมันได้มากทีเดียวครับ
    .
    .
    – สู่ดินแดนหางอ้วน –
    .
    “กว่าธรรมชาติจะค้นพบวิธีสร้างชีวภาพเหล่านั้นขึ้นมาใช้เวลาหลายร้อยล้านปี แต่ตอนนี้มนุษย์ผู้มีความโอหังต้องการสร้างจากภาพรวมลงไปภาพย่อย(top-down) ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เราพยายามสร้างขึ้นล้วนมีแนวโน้มเปราะบางทั้งสิ้น[๒]”
    .
    – Nassim Taleb
    เรื่องราวการงานของเขาแม้จะเล่าได้อย่างรวดเร็วลื่นไหล (สมกับที่เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญภายในแวดวงของ HFT หรือ high-frequency trading ในตลาดหุ้นและตลาดต่างๆ) แต่มันก็เริ่มจะหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากให้เราเข้าใจคร่าวๆ ของเหตุการณ์ต่างๆ เขาเริ่มลงลึกมากขึ้น ขยายกว้างออกไป ก่อนบรรจบอีกครั้ง …พวกเราไม่เคยล่วงรู้เลยว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่า หางอ้วน อยู่ในหลักวิชาการด้วย (หรือมี ก็ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญจนเป็นที่น่าจดจำและนำไปใช้งาน) Scott กระดกกาแฟเข้าไปอีกช็อต…ซึ่งถึงตอนนี้ผมก็ไม่ได้นับจำนวนแก้ว เพราะลืมสนใจเรื่องน่าอัศจรรย์ใจอันดับแรกของวันนี้ไปเลย…และจากนั้น เขาก็พูดว่า “นั่นเพราะพวกนาย …ไม่สิ พวกเราไม่รู้ ว่าเราไม่รู้ยังไงล่ะ”
    .
    .
    ดังที่ Nassim Taleb มีหลักการป้องกันไว้ก่อนให้แก่ตัวเองจากความไม่รู้ที่ว่า “ถ้าผมมีไข้ จะไม่รักษา ถ้าผมปวดหัว จะไม่รักษา ถ้าผมเป็นมะเร็ง ผมจะพบแพทย์หกคน ไม่ใช่แค่คนเดียว[๓]”
    .
    .
    – ความโกลาหลที่สะสมพอกพูนที่ปลายจมูก –
    .
    มีเรื่องราวมากมายที่ Scott เล่ามาได้น่าประทับใจ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งได้จากประสบการณ์ควบคู่กับการทดลอง(หรือทดสอบ)มากกว่าเป็นเพียงทฤษฎีจากผู้ช่างสงสัย (Empirical) แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันน่าสนใจ นั่นก็เพราะมันควรจะต้องถูกให้ความสนใจ…ให้ความใส่ใจกันมากกว่านี้จริงๆ
    .
    ครั้งหนึ่ง Einstein เคยตั้งข้อสังเกตว่า ”พระเจ้าไม่ทอยลูกเต๋า“ เพื่อเป็นการคัดค้านควอนตัม โดยที่ Niels Bohr ตอบโต้ไปทันควันโดยเตือนให้เขา “เลิกบอกพระเจ้าว่าต้องทำอะไรซะที“ หรืออย่าง David Albert เคยถาม Carlo Rovelli ว่า “คาร์โล คุณคิดได้ยังไงว่าการทดลองในห้องปฏิบัติการที่มี‘โลหะกับเศษแก้ว’จะทวีความสำคัญขนาดทำให้เรา ‘ตั้งคำถามต่อความเชื่อมั่นทางอภิปรัชญาที่หยั่งรากลึกที่สุด‘ เกี่ยวกับการทำงานของธรรมชาติได้“ แล้ววันหนึ่ง Carlo ก็ได้คำตอบที่แสนจะเรียบง่ายให้กับคำถามนี้ว่า “อะไรคือบรรดา ‘ความเชื่อมั่นทางอภิปรัชญาอันหยั่งรากลึกที่สุด’ ของเรากันล่ะ หากไม่ใช่สิ่งที่เราค่อยๆ คุ้นชินจนเชื่อมั่นจากการเล่นกับก้อนหินและเศษท่อนไม้เหมือนกันเป๊ะเลย“[๔]
    .
    เราทุกคนอึ้งกันไป กับเรื่องราวที่ Scott บอกเล่าจนนิ่งเงียบกันหมด ผมรู้สึกตัวขึ้นมาจึงพยายามจะสร้างบรรยากาศให้ดีขึ้นโดยพูด…เอ่อก็ ในสิ่งที่ไม่น่าฉลาดเท่าไหร่นักไปว่า “Scottie ง..งั้นนายก็ทำเงินในตลาดได้มากเลยสินะ เจ๋งไปเลยเพื่อน“
    .
    Scott มองต่ำลงโดยไม่ตอบอะไร จนผมกลืนน้ำลายตัวเอง เกิดเสียงที่ดูเหมือนจะใช้แทนคำตอบจากเขา ก่อนที่ Scott จะยื่นมือไปหยิบกาแฟดับเบิ้ลช็อตมายกซดลงคออีกแก้ว …นี่ทำให้ผมเพิ่งนึกเรื่องน่าทึ่งนี้ขึ้นมา ผมนับได้ทั้งหมดรวมในมือเขาก็คือ 7 แก้ว! (…แล้วผมก็กลับมาทึ่งกับเรื่องนี้อีกครั้งจนได้) ชั่วขณะนั้นเอง ที่ Scott ลุกขึ้นหยิบสูทลำลองมาสวม ก่อนส่งรอยยิ้มเล็กๆ อันคุ้นตาพร้อมกับโบกมือร่ำลาพวกเราทั้งสามคน ตอนที่เขาเดินไปได้สองก้าว เขาก็หยุดพลันเหลียวกลับมามองพวกเรา ก่อนจะพูดว่า “พวกนายอย่ามัวเสียเวลาไปกับเรื่องการทำเงินอย่างไรให้ได้มากๆ ในตลาดหุ้นหรือตลาดโภคภัณฑ์จะดีกว่า หลายอย่างสำคัญยิ่งกว่าหากยังไม่ระมัดระวังตัวเองให้มากเพียงพอ”
    .
    …หลังจากสิ้นประโยคนั้น Scott โฟกัสมองพื้น นึกคิดบางอย่างในใจ
    .
    …ก่อนหลับตา ราวกับว่าได้พบเจอคำตอบในนั้น
    .
    …เขายิ้มมุมปาก ก่อนเอ่ยถ้อยคำ เป็นเพียงประโยคเดียว ประโยคสั้นๆ เพื่อร่ำลา
    .
    .
    “…ปีศาจนั้น อยู่ในชุดข้อมูล[๕]”
    .
    .
    .
    ปล.ในความเห็นของข้าพเจ้า การใช้ชีวิตของเรา แทนที่จะดำเนินไปแบบรวดเดียวอย่างราบรื่น(เพราะเราคุ้นเคยมันเช่นนั้น) กลับมีลักษณะดำเนินไปแบบห้วงๆ มากกว่า โดยในแต่ละห้วง สมองของเราจะจับเอาข้อมูลทั้งหมดที่มึ ณ ขณะนั้นมามัดรวมกัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจ เมื่อผ่านห้วงหนึ่งไปสู่อีกห้วง กระบวนการนี้จะเกิดซ้ำ ดำเนินไปเช่นเดิมเรื่อยๆ โดยที่มันจะไม่สนใจว่า “[ในความเป็นจริง]มันเป็นไปเช่นนั้น” จริงๆ ไหม
    .
    ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อเริ่มใช้ความคิด จึงเป็นขั้นตอนสำคัญมากที่สุดในการใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ที่เต็มไปด้วย ความโกลาหล
    .
    …เริ่มต้นอย่างคนช่างสงสัยในทุกๆ ห้วงของกาลเวลา
    .
    …โดยอยู่กับสิ่งที่เราสังเกตได้เท่านั้น
    .
    …อย่าเพ้อฝัน ล่องลอยบนความมั่นใจว่า “เป็นจริง“ กับสิ่งที่สังเกตไม่ได้
    .
    เพราะอย่างไรเสีย ธรรมชาติ ไม่สนใจหรอกครับว่าใครจะกำลังสังเกตหรือพยายามทำบางสิ่งบางอย่างกับมันอยู่หรือเปล่า
    .
    .
    และอันที่จริง ปัญหาต่างๆ ของเรา สำหรับธรรมชาติ . . . มันเป็นปัญหาที่ถูกแก้ไปแล้ว[๖]
    .
    .
    .
    “[ภายในจิต] …ความรู้และข้อผิดพลาดไหลบ่าเข้ามาจากแหล่งเดียวกัน ผู้ประสบความสำเร็จเท่านั้นที่สามารถแยกความรู้ออกจากข้อผิดพลาดได้”
    .
    -Ernst Mach
    .
    .
    .
    [๑] Chaos Kings ฉบับแปลไทย
    [๒] อ้างอิงแล้ว
    [๓] อ้างอิงแล้ว
    [๔] ดัดแปลงจากหนังสือ Helgoland (Carlo Rovelli)
    [๕] Chaos Kings ฉบับแปลไทย
    [๖] Erik C.Banks (The Realistic Empiricism of Mach, James, and Russell)
    .
    .
    .
    {SS.}

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *