Menu Close
RIP a legend

ทัศนะ Soros

Soros: พวกเราอยู่ท่ามกลางหมอกควันของวิกฤตการเงินที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ในบางมุมวิกฤตดังกล่าวเป็นการรวบรวมวิกฤตอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมาด้วย แต่มีความแตกต่างที่ลึกซึ้งแฝงอยู่ นั่นคือวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถือเป็นจุดจบของยุคการขยายเครดิต (The End of an Era of Credit Expansion)ที่อยู่บนพื้นฐานของเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Currency) วิกฤตการณ์ที่เกิดเป็นระยะๆ นั้นต่างเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟองสบู่ที่เป็นภาพใหญ่ (Boom-Bust Process) วิกฤตการณ์ปัจจุบันเป็นส่วนยอดของซูเปอร์บูมที่เกิดขึ้นมานานกว่า 25 ปี

.

เพื่อให้เข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น เราจำเป็นต้องมีกรอบความคิดใหม่ (a New Paradigm) กรอบความคิดเดิมซึ่งเป็นที่แพร่หลาย มีความเชื่อว่าตลาดการเงินมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะสมดุล (equilibrium) นั้นเป็นเรื่องที่ทั้งผิดและชี้นำอย่างไม่ถูกต้อง ปัญหาของเราในปัจจุบันอาจเป็นส่วนประกอบหลักของข้อเท็จจริงที่ว่าระบบ International Financial System ถูกพัฒนาขึ้นมาบนพื้นฐานของกรอบความคิดดั้งเดิมที่ว่า

.

.

กรอบความคิดใหม่ที่ผมกำลังเสนอนี้ไม่ได้ถูกจำกัดไว้กับตลาดการเงินเท่านั้น มันยังใช้ได้กับความสัมพันธ์ของความคิดกับความจริง และเป็นกรอบที่อ้างว่าการหลงหลุดออกจากกรอบความคิดและ การแปลผลแบบผิดๆ มีบทบาทหลักในการสร้างประวัติศาสตร์มาโดยตลอด ผมเริ่มการพัฒนากรอบแนวคิดหลัก (Conceptual Framework) นี้ในสมัยที่ผมยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่ London School of Economics (LSE) ก่อนที่ผมจะเข้ามาทำงานในตลาดการเงินอย่างจริงจัง ดั่งที่ผมได้เขียนถึงก่อนหน้านี้ว่าผมได้รับอิทธิพลอย่างมากจากปรัชญาของ Karl Popper และนั่นทำให้ผมตั้งคำถามต่อสมมติฐานที่ทฤษฎีการแข่งขันสมบูรณ์นำไปใช้ (Theory of Perfect Competition) โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสมมติฐานที่ว่าตลาดมีความรู้ทั่วถึงกันโดยสมบูรณ์ (Perfect Knowledge) ผมเริ่มตระหนักว่าผู้มีส่วนร่วมในตลาด ไม่อาจตัดสินใจบนพื้นฐานความรู้ของตนเพียงอย่างเดียว และการรับรู้อย่างมีอคติของพวกเขา #ไม่เพียงมีอิทธิพลต่อราคาตลาด#แต่ยังส่งผลต่อพื้นฐานที่ราคาเหล่านั้น จะต้องสะท้อนออกมาด้วย

.

.

ผมแย้งว่าความคิดของผู้มีส่วนร่วมในตลาดเหล่านั้นมี 2 บทบาท ด้านหนึ่งพวกเขาพยายามที่จะเข้าใจสถานการณ์ ผมเรียกด้านนี้ว่าการทำงานแบบรู้คิด (Cognitive Function) แต่อีกด้านหนึ่งพวกเขาพยายามจะเปลี่ยนสถานการณ์ ผมเรียกด้านนี้ว่า การทำงานแบบผู้มีส่วนร่วม หรือการชักจูง (Participating or Manipulative Function) ซึ่งทั้งสองด้านมีการทำงานที่ส่วนทางกัน และภายใต้สถานการณ์ใดๆ การทำงานแต่ละด้านสามารถรบกวนอีกด้านหนึ่งได้ ผมเรียกว่าการสะท้อนการทำงานที่รบกวนกัน (Interference Reflexivity)

.

.

เมื่อผมกลายมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในตลาด ผมนำกรอบแนวคิดหลักของผมมาใช้กับตลาดการเงิน มันช่วยทำให้ผมมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับกระบวนฟองสบู่ ที่เริ่มแรกจะเสริมตนเอง (Self-reinforcing) แต่ในท้ายที่สุดกลับกลายเป็นความเชื่อผิดๆ ที่ทำร้ายตนเอง (Self-defeating) ของ Boom-Bust Process ได้ ผมพบว่าแนวคิดเช่นนี้นำมาใช้ในฐานะผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ได้อย่างดี ผมอธิบายทฤษฎีการสะท้อนกลับ (Theory of Reflexivity) นี้ในหนังสือเล่มแรกของผม The Alchemy of Finance (เล่นแร่แปรธาตุทางการเงิน) ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 1987 มีผู้ติดตามหนังสือเนื่องจากชื่นชอบในกรอบความคิดใหม่ แต่ทฤษฎีการสะท้อนกลับไม่ถูกนำไปใช้อย่างจริงจังในวงวิชาการ ทำให้ผมไม่มั่นใจในตัวเองว่าผมได้พูดถึงประเด็นใหม่และสำคัญออกไปหรือไม่

.

.

อย่างไรก็โดยส่วนตัวแล้ว ตามกรอบแนวคิดหลักของผมยังคงแฝงบางสิ่งที่สำคัญสำหรับผม เพราะมันช่วยชี้แนวทางการทำเงินในฐานะผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ และในการใช้กรอบแนวคิดนั้นในฐานะผู้ใจบุญ และมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นตัวตนของผม

.

.

เมื่อมีวิกฤตการเงินปะทุขึ้น ผมก็ได้เกษียณตัวเองจากการเป็นผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ของกองทุนผมเองแล้ว หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของกองทุนจาก กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใช้กลยุทธ์เชิงรุกอย่างเกรี้ยวกราด เป็นกองทุนเพื่อการกุศลที่มีความสุขุมขึ้น อย่างไรก็ตามวิกฤตการณ์ระลอกใหม่กลับบังคับให้ผมต้องกลับมาให้ความสนใจกลับมาที่ตลาดการเงินอีก และผมเริ่มมีบทบาทในการตัดสินใจลงทุนของกองทุนเฮดจ์ฟันด์อีกครั้งหนึ่ง…

ติดตามเนื้อหาที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงได้จาก

#mpirikabooks

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *